.

.

(ตัวอย่าง) ชุมชนวิจัยรากฐานใหม่แห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต


งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เป็นวิธีการ “เน้นการวิจัยที่สามารถตอบปัญหา  โดยการสร้างรูปแบบและวิธีการค้นหาคำตอบ  ที่สามารถให้ความกระจ่างต่อปัญหานั้น ๆ ได้  และเสนอทางเลือกหรือชี้นำการปรับตัวของชุมชนในท้องถิ่นเป็นอันดับแรก”
มีการดำเนินงาน 2  รูปแบบดังนี้
1) การวิจัยเต็มรูปแบบ (PAR)
เป็นงานวิจัยที่มีลักษณะสมบูรณ์แบบตามแนวคิด การวิจัยเพื่อท้องถิ่นทั้งในเชิงเนื้อหาและในเชิงกระบวนการ ภายใต้หลักการว่า “เป็นปัญหาของชาวบ้าน ชาวบ้านเป็นทีมวิจัย และมีปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหา” โดยใช้ระยะเวลาดำเนินงานไม่เกิน 2 ปีงานวิจัยแบบนี้มี 2 ลักษณะ กล่าวคือ
1.1 การวิจัยที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาสังคมในทุกประเด็น
1.2 การวิจัยที่เน้นการทดลองเปรียบเทียบและทดสอบปัจจัยต่าง ๆ  เพื่อหาทางเลือกที่มีประสิทธิภาพ คุ้มค่าและคุ้มทุนที่สุด เน้นการพึ่งตนเองเป็นหลัก
2) การวิจัยทางเลือกใหม่เพื่อท้องถิ่น
เป็นงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นรูปแบบใหม่ที่พัฒนามาจากแบบแรก เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการและสอดคล้องกับศักยภาพท้องถิ่นและกลุ่มคนที่มีหลากหลายระดับ เป็นการเริ่มต้นทดลองทำงานวิจัยอย่างง่าย ๆ ประมาณ 3-6 เดือน ไม่เกิน 1 ปี มีหลายทางเลือกดังนี้
2.1 การวิจัยเบื้องต้น เป็นกระบวนการพัฒนาโจทย์วิจัยและการรวบรวมความรู้ รวมถึงการเตรียมชุมชน เตรียมชาวบ้าน
2.2 การวิจัยวิจัยที่เน้นการถอดความรู้และรวบรวมองค์ความรู้จากการทำงานพํฒนาของชุมชน (วิจัยภูมิปัญญา) ชุมชนอยากรู้  อยากรวบรวมองค์ความรู้ของตนเอง โดยไม่ได้มุ่งแก้ไขปัญหาชุมชนมากนัก
2.3 การวิจัยเชิงความร่วมมือ  เป็นการสนับสนุนการสร้างความรู้ร่วมกับหน่วยงานหรือภาคีอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน เพื่อชุมชนท้องถิ่น เป็นความร่วมมือทั้งในแง่การมีเป้าหมายเพื่อท้องถิ่น แต่ละภาคีร่วมกันสนับสนุนปัจจัยและทุนการดำเนินงานร่วมกัน



และเรื่องด้านล่างนี้ เป็นวิดีทัศน์ตัวอย่าง ที่จะเป็นอีกคำตอบหนึ่งจากชุมชนหนึ่งในจังหวัดพะเยา



No comments:

Post a Comment